วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Assignment#3



การใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย  ได้แก่

1. การตั้งกระทู้ หรือ การตอบกระทู้ ควรใช้คำที่สุภาพ และไม่สร้างความเดือดร้อน ให้กับผู้อื่น เช่น ที่ www.pantip.com  เป็นต้น
2. ไม่ควรให้ Account อินเทอร์เน็ตกับบุคคลอื่นไปใช้งานและควรเปลี่ยน password อย่างน้อย 1 เดือน การตั้ง password ใหม่ ควรตั้งไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัวโดยใช้ ตัวเลขผสมตัวอักษร เช่น 255wcit1 ถ้าในกรณีที่รู้ว่า Account ตนเองมีปัญหา ในการใช้งาน ให้ติดต่อศูนย์คอมพิวเตอร์ทันที

3. ระวังการจ่ายเงินสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพราะอาจจะมีผู้อื่น คอยดักจับเลขที่บัตรเครดิตเรา ในการใช้งานได้ ดังนั้นควรตรวจสอบ ระบบความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้นๆ ว่ามีระบบความปลอดถัยหรือไม่ ก่อนทำการสั่งซื้อ
(ตลาดซื้อขายออนไลน์ - ebaY)

4. ควรทำการตรวจสอบระบบความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น Windows Internet Explorer และ Outlook Express เป็นต้น จากเว็บไซต์ http://www.microsoft.com

5. ทำการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 โปรแกรม
(โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ)

6. ไม่ควร Download โปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ

7. ไม่ควรรับโปรแกรม หรือเปิดไฟล์ต่าง ๆ จากบุคคลอื่นที่ไม่รู้จักผ่านการใช้งานโปรแกรม MSN, IRC, Pirch และ e-Mail เป็นต้น และปัจจุบันเพิ่มเติมอีกนิดนึงว่าไม่ควรรับไฟล์ใด ๆ แม้จากคนที่เรารู้จักหากไม่ได้รับการยืนยันจากผู้ส่งว่าได้ส่งไฟล์มา เพราะปัจจุบันมีไวรัสหรือมัลแวร์ที่สามารถปลอมตัว หรือใช้โปรแกรมของผู้ส่งไปยังผู้รับได้ เมื่อรับมาก็คือการรับไวรัสเข้ามายังเครื่องนั่นเอง

8. ไม่ควรนำ E-mail ของตนเองไปลงทะเบียนตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เพราะจะทำให้ได้รับจดหมายขยะ จากเว็บไซต์โฆษณาสินค้า หรือเว็บไซต์ที่มีไวรัส

9. ถ้าต้องการความปลอดภัยสูงขึ้นในการใช้งานอินเทอร์เน็ต สามารถติดตั้งโปรแกรม Personal Firewall บนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอกเข้าสู่เครื่องผู้ใช้

(Software Firewall)





การเปรียบเทียบอิทธิพลของ Social media กับ Traditional media ในยุคปัจจุบัน

Social Media
เป็นการสื่อสารส่งข้อมูลข่าวสารในรูปแบบใหม่ที่มีการสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถสื่อสารได้ 2 ทาง (Two-way Communication)
ตัวอย่าง : E-mail  Facebook/Fanpage  Website  Banner  Youtube
ข้อดี : สามารถกระจายผู้รับสื่อได้อย่างรวดเร็วจึงประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย : มีข้อจำกัดในเรื่องของเครื่องรับสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โดยต้องมีความรู้ในการใช้ด้วย เข้าถึงเป้าหมายได้เฉพาะกลุ่ม
(Social Media)

Traditional media
เป็นการสื่อสารส่งข้อมูลในรูปแบบเดิมที่ไม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ท ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)
ตัวอย่าง : โทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา
ข้อดี สามารถกระจายข้อมูลในกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างและสะดวกต่อการเข้าถึงในพื้นที่ทีมีข้อจำกัดในการรับสื่อรูปแบบใหม่
ข้อเสีย มีต้นทุนสูง ล้าสมัย ล่าช้าและผู้รับสื่อไม่สามารถโต้ตอบกลับได้


(Traditional media)

ในปัจจุบัน  Socail media เข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์มากยิ่งขึ้น เพราะในยุคนี้ผู้คนส่วนใหญ่ต่างมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตใช้กันทุกบ้าน social media มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเราในทุกๆวัน เช่น 
- การตื่นเช้ามาอย่างแรกที่จะทำคือการเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อเช็ค facebook หรือข่าวสารต่างๆ
- การโฆษณาทาง social media มีอัตราการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ
- หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับในประเทศไทย ให้บริการ News Content และมีเนื้อที่สำหรับการโฆษณาออนไลน์ด้วย หรือจะอ่านหนังสือพิมพ์แบบ e-Newspaper ได้โดยผ่าน Digital Device ต่างๆ
-โทรทัศน์ก็สามารุถเข้าไปชมรายการย้อนหลังได้จากเว็บไซต์ช่องต่างๆ เราสามารถเลือกดูรายการที่เราพลาดชม หรือเลือกดูรายการโปรดได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดตอนจบของดอกส้มสีทอง
-วิทยุก็กลายเป็นโทรทัศน์หรือเป็นเคเบิลทีวี เราสามารุฟังรายการวิทยุจากเว็บไซต์ หรือชมผ่านโทรทัศน์ก็ได้ ในขณะเดียวกันโทรทัศน์เองก็รายงานข่าวทั้งโทรทัศน์เองด้วยและก็ออกอากาศทางวิทยุ รวมถึงสามารถชมรายการสดๆทางอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย

จากตัวอย่างต่างๆพบว่า อัตราการเติบโตใน Social Media มีสูงกว่าสื่อ Traditional Media

(Social media optimization)



Weblog มีประโยชน์อย่างไรกับแวดวงธุรกิจในปัจจุบัน
Weblog เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ web log โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (www) และ log (บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ  ขณะนี้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย

ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำต่างๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองสามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง

 การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตน เป็นต้น

 บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเองและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถกาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาดโดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย

นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน, ร้านค้า, ฯลฯ
(เว็บ Weblog ต่างๆ)


Google Apps คืออะไร มีประโยชน์และการใช้งานอย่างไร


Google Apps คืออะไร
Google Apps คือ แอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Google เพื่อให้บริการทางด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งได้มีการรวมแอปพลิเคชัน ต่างๆ ที่ถือว่ามีความจำเป็นต่อองค์กรในปัจจุบันอันได้แก่ Gmail, Google Talk, Google Calendar, Google Documents เป็นต้น
ทั้งนี้เราสามารถใช้บริการดังกล่าวได้ฟรี ซึ่งการติดตั้ง Google Apps เพื่อให้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ ทำได้โดยการ configure MX Record พร้อมทั้ง CNAME ของ DNS server ทั้ง บน Windows และ Linux ทำให้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ สามารถใช้ email ในรูปแบบโดเมนของท่านเองได้ ผ่านระบบ Gmail server ซึ่งให้พื้นที่เก็บอีเมล์สูงถึง 7 GB ต่อ account และที่สำคัญไปกว่านั้น Google Apps ยังมีการจัดการเกี่ยวกับ Spam mail และ ไวรัส ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
(Google Apps)


ประโยชน์ของ Google Apps
1. การประหยัดค่าใช้จ่ายที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
แอปพลิเคชันการส่งข้อความและการทำงานร่วมกันที่ทำงานแบบเว็บของ Google ไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ และต้องการการดูแลระบบน้อยที่สุด สร้างเวลาเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจ


2. พื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม 50 เท่า
แต่ละรายจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลอีเมล์ขนาด 25 กิกะไบต์ ดังนั้นจึงสามารถเก็บข้อมูลสำคัญและค้นหาได้ทันทีด้วยการค้นหาของ Google ที่มีอยู่ภายในระบบ
Gmail ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถลดเวลาในการจัดการกับกล่องจดหมายของตน และเพิ่มเวลาในการทำงาน คุณลักษณะที่ช่วยประหยัดเวลา ดังเช่น สายข้อมูลของข้อความ ป้ายกำกับข้อความ การค้นหาข้อความอย่างรวดเร็ว และการกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้สามารถทำงานกับอีเมล์ปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3. การเข้าถึงอีเมล ปฏิทิน และ IM บนโทรศัพท์มือถือ
        ด้วยการใช้ตัวเลือกมากมายสำหรับการเข้าถึงข้อมูลขณะเดินทาง พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Google Apps แม้ว่าจะไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานก็ตาม
      Google Apps สนับสนุนการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือแบบไร้สายในอุปกรณ์ BlackBerry, iPhone, Windows Mobile, Android และโทรศัพท์หลายประเภทที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

4. รับประกันความน่าเชื่อถือของความพร้อมในการทำงาน 99.9%
       รับประกันว่า Google Apps จะมีความพร้อมในการทำงานอย่างน้อย 99.9% ดังนั้นพนักงานของคุณจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น และจะกังวลใจน้อยลงเกี่ยวกับการหยุดทำงานของระบบ
       การจำลองข้อมูลแบบซิงโครนัส ทำให้ข้อมูลและกิจกรรมของคุณใน Gmail, Google ปฏิทิน, Google เอกสารและ Google Sites มีการเก็บรักษาไว้ในเวลาเดียวกันในศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยหลายแห่ง

5. ความปลอดภัยของข้อมูลและเป็นไปตามข้อกำหนด
       ทีมงานรักษาความปลอดภัยข้อมูลของ Google ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล แอปพลิเคชัน และเครือข่าย มุ่งเน้นที่จะรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัย Google และลูกค้าอื่นๆ จำนวนมากวางใจใช้ระบบนี้กับข้อมูลบริษัทที่มีความสำคัญสูง   

6. การควบคุมการดูแลระบบและข้อมูลแบบสมบูรณ์
       ผู้ดูแลระบบสามารถปรับแต่ง Google Apps ในเชิงลึกเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านเทคนิค ตราสินค้า และธุรกิจของตนได้ ตัวเลือกการผสานรวมจะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อ Google Apps กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีอยู่ของคุณ

7. การสนับสนุนลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงที่เป็นประโยชน์
       ได้แก่ การสนับสนุนทางโทรศัพท์สำหรับปัญหาร้ายแรง การสนับสนุนทางอีเมล์ หรือ การสนับสนุนทางออนไลน์สำหรับการบริการตนเอง



การใช้งาน Google Apps

Gmail    
  • เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า
  • เพื่อใช้ข้อมูลย้อนหลังจากการสนทนา ฝากข้อความ หรือ voice mail จากโปรแกรม google talk

หมายเหตุ : บริการนี้ต้อง sign in เข้า gmail.com หรือ domain ที่องค์กรเตรียมไว้ให้


Google Talk       
  • เพื่อรับส่งข้อมูลแบบ real time ที่สื่อสารได้ทั้งข้อความ และเสียง รวมถึงการรับส่งแฟ้มข้อมูล
  • เพื่อแสดงสถานะการใช้งาน ณ ปัจจุบัน แสดงสถานะอีเมล และติดต่อสื่อสารได้ทันที

หมายเหตุ : บริการนี้ต้องติดตั้งโปรแกรม จึงจะใช้งานได้อย่างสะดวก


Google Documents        
  • เพื่อใช้งานโปรแกรมจัดการเอกสารแบบออนไลน์ โดยไม่ต้องซื้อหา และใช้งานได้จากทุกที่
  • เพื่อใช้งานเอกสารร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน เช่นการแก้ไขเอกสารร่วมกัน หรือ presentation ผ่าน Lan ในห้องปฏิบัติการ

หมายเหตุ : ระบบนี้ไม่เปิดให้คนทั่วไป เปิดให้เฉพาะเพื่อนในกลุ่มเท่านั้น



Google Calendar             
  • เพื่อนำเสนอ หรือบันทึกกิจกรรม แผนงานที่จะทำในแต่ละวัน
  • เพื่อใช้แสดงกิจกรรมร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ทำให้สะดวกในการตรวจสอบนัดหมาย

เช่น http://www.google.com/calendar/embed?src=gthaiall%40gmail.com&ctz=Asia/Bangkok




Sites     
  • เพื่อการนำเสนอเว็บเพจที่ใช้งานได้ง่าย นำเสนอแฟ้มข้อมูลประกอบเว็บเพจ
  • เพื่อการจัดทำระบบเก็บเอกสารที่เป็นระบบ และใช้งานร่วมกับเพื่อนได้

เช่น http://sites.google.com/site/yonokoit/



เพิ่มเติม วิธีการใช้งาน Google Apps ต่างๆ สามารถเข้าไปดูลิงค์ด้านล่าง :




Cloud Computing คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับธุรกิจในปัจจุบัน

Cloud Computing คืออะไร
Cloud Computing หรือ กลุ่มเมฆคอมพิวเตอร์นั้น เป็นแนวคิดด้านบริการที่เชื่อมโยงกันโดยคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งอาจตั้งอยู่ในห้องเดียวกันหรือคนละที่ก็ได้ โดยระบบจะทำงานประสานกันแบบรวมศูนย์ คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบนั้นมีการทำงานอย่างไร และประกอบไปด้วยทรัพยากร (resource) อะไรบ้าง แต่ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ (requirement) ไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing (ซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ โดยระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา) และหลังจากนั้นบริการ (service) ก็จะให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ผู้ใช้นั้นจะมองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูกจัดการเช่นไร หรือถูกเก็บอยู่ที่ไหน

หรือถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ Cloud นั้นเปรียบเสมือนก้อนเมฆที่มีรูปร่าง ขนาด และมีที่อยู่ ที่ไม่แน่นอน ดังนั้น พวก Server, Storage หรือ CPU ก็เปรียบเป็นก้อนเมฆก้อนหนึ่งที่เราจะรู้แค่ว่ามันมี และเห็นว่ามีมากพอที่จะทำอะไรได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีก้อนเมฆมากแค่ไหน ไม่ต้องรู้ว่ามันไปอยู่ที่ไหน ซึ่งนี่ก็คือการทำ Cloud Computing เช่น ถ้าวันนี้ศูนย์ Cloud ในประเทศไทยล่ม อาจจะมีการย้ายงานไปที่อีกศูนย์นึงให้ทำงานแทน โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องอะไร แค่เปิดมาดูแล้วพบว่าโปรแกรมล่มไป แต่พอเปิดขึ้นมาใหม่ก็ใช้ได้แล้ว เป็นต้น

(Cloud computing logical diagram)


ประโยชน์ของ Cloud Computing กับธุรกิจในปัจจุบัน 
1. ทรัพยากรไอทีถูกใช้อย่างคุ้มค่า 
       เนื่องจากเป็นการแบ่งปัน (Share) ทรัพยากรทั้งส่วนจัดเก็บข้อมูล แอพพลิเคชั่น และการประมวลผลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  จึงเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) ดังนั้นผู้ให้บริการจึงสามารถนำเสนอบริการแอพพลิเคชั่นในราคาที่ต่ำ กว่ากรณีที่ผู้ใช้จะลงทุนติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้งาน 

2. ผู้ใช้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น 
โดยอัตราค่าบริการด้านไอทีผ่านสภาพแวดล้อมกลุ่มเมฆ จะต่ำกว่าการลงทุนติดตั้งระบบไอทีเองทั้งหมด จึงมีโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีที่หลากหลาย ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้มากกว่าในสภาพแวดล้อมแบบเดิม  ทั้งนี้ในกรณีที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นที่จะนำเทคโนโลยีใหม่มาให้บริการบนสถาปัตยกรรม SOA (Service-oriented architecture)

3. ผู้พัฒนาเทคโนโลยีไอทีมีโอกาสให้นำผลงานออกสู่ตลาดได้มากขึ้น 
       บนสถาปัตยกรรมที่แยกเซิร์ฟเวอร์ในส่วนของแอพพลิเคชั่น ทำให้แอพพลิเคชั่นบนเครือข่ายมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนบนเครือข่าย ผู้ให้บริการจะกำหนดแพลทฟอร์มของแอพพลิเคชั่นบนกลุ่มเมฆของตน เช่นแพลทฟอร์มสำหรับ Google App Engine เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถนำผลงานไปให้บริการบนกลุ่มเมฆ  โดยการเพิ่มบริการแอพพลิเคชั่นจะไม่กระทบในส่วนของผู้ใช้ 

4. ผู้ให้บริการสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
       บริการถูกนำเสนอบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้น ผู้ให้บริการสามารถติดตั้งอุปกรณ์ในทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการตั้งกิจการในย่านธุรกิจ แต่สามารถนำเสนอบริการให้แก่ลูกค้าได้ทั่วโลก อีกทั้งหน่วยจัดเก็บข้อมูล ส่วนประมวลผล และแอพพลิเคชั่น ถูกแยกออกจากส่วนผู้ใช้ ดังนั้นผู้ให้บริการจึงสามารถดูแลรักษาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 



น.ส. สโรชา  สุขุมวิราม  รหัสนักศึกษา 53040757
สาขาเทคโนโลยีการจัดการ  วิทยาลัยการบริหารและจัดการ
ชั้นปีที่3  กลุ่มที่2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น